วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เห็ดโคนน้อย


เห็ดโคนน้อย (Coprinus spp.) จัดเป็นราชั้นสูงที่อยู่ใน ตระกูลเห็ด (Basidiomycetes) เป็นเห็ดที่อยู่ในจีนัส Coprinus ใกล้เคียงกับเห็ดหมึก Coprinus comatus (Ink cap)และเห็ดในกลุ่มCoprinus อื่นๆอีกหลายชนิด แต่เป็นคนละชนิดกับเห็ดโคนธรรมชาติหรือเห็ดปลวก (Termitomyces spp.)ในต่างประเทศเห็ดในกลุ่มนี้ก็มีการเพาะเลี้ยงเช่นกัน มีชื่อสากลว่า Hypsizygus marmoreus (Peck) Bigelow เดิม ในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปเนื่องจากมีการกระจายพันธุ์ทั่วทุกภาค ของประเทศไทย มีชื่อเรียกตามวัสดุเพาะ เช่น เห็ดถั่ว เห็ดถั่วเหลืองหรือ เห็ดถั่วเน่า เห็ดโคนน้อย เห็ดโคนบ้าน เห็ดโคนขาว(ภาคเหนือ) เห็ดคราม เห็ดปลวกน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)เห็ดโคนเพาะ เห็ดโคนน้อย เห็ดหมึก(ภาคกลาง) เป็นเห็ดที่ขึ้นง่าย มีการเพาะกันมากในต่างประเทศ ลักษณะคล้ายเห็ดโคน สีขาวสีหมวกสวยงามสมส่วน ก้านดอกขนาดเท่าดินสอดำ ความยาวของต้นเห็ดประมาณ 2-3 นิ้ว

เห็ด ชนิดนี้นอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารสูงแล้วยังพบว่ามีสรรพคุณทางสมุนไพร ช่วยในการย่อยอาหารและลดเสมหะ ถ้าตำให้ละเอียดใช้พอกภายนอกจะช่วยบรรเทาอาการปวดต่างๆได้ มีรายงานวิจัยที่แสดงว่าเห็ดนี้สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็ง sarcoma 180 และ เซลล์มะเร็ง Ehrlich carcinoma ได้สูง 90 และ100% ตามลำดับและยังพบว่ามีสารออกฤทธิ์ที่ต้านเชื้อราได้อีกด้วย


สำหรับ ผู้บุกเบิกการเพาะเห็ดโคนน้อยและนำมาเผยแพร่ครั้งแรกให้แก่ประชาชนทั่วไป ตามเอกสารของอาจารย์อานนท์ เอื้อตระกูล เรื่องการเพาะเห็ดโคนน้อย(เห็ดถั่ว)ของศูนย์ไบโอเทคฯและชมรมเห็ดสากล ได้รายงานว่านายไพโรจน์ พิสุทธ์เป็นผู้บุกเบิกในการทดลองเพาะ ที่บ้านเลขที่ 83 หมู่18 ตำบล หนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ต่อมาได้ร่วมกับศูนย์บริการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอหนองปรือ จัดอบรมหลักสูตรการเพาะเห็ดขึ้น และก็ได้มีผู้นำไปเพาะขยายตามที่ต่างๆแต่ยังคงเป็นที่รู้จักกันในวงแคบ เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดเศรษฐกิจชนิดอื่นๆเช่นเห็ดฟางเป็นต้น เนื่อง จากความนิยมบริโภคเห็ดโคนของประชาชนทั่วไปมีสูง เพราะเป็นเห็ดที่มีรสชาติอร่อย อุดมด้วยโปรตีนและคุณค่าทางอาหารสูง และมีราคาค่อนข้างสูง แต่ในปัจจุบันยังไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้ เพราะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยพบว่ามีความสัมพันธ์กับปลวก และจะพบขึ้นในช่วงปลายฤดูฝน ประมาณกันยายน ถึงตุลาคม ดัง นั้นจึงเริ่มมีผู้นำเห็ดถั่วนำมาเพาะเป็นการค้า เนื่องจากเล็งเห็นว่ามีรสชาติใกล้เคียงแม้ว่าจะไม่เทียบเท่าเห็ดโคน โดยตั้งชื่อให้เป็นจุดสนใจว่าเห็ดโคนน้อยหรือเห็ดโคนเพาะ ซึ่งต่อมาก็ได้มีการพัฒนาและคัดเลือกสายพันธุ์ของเชื้อเห็ดถั่วที่มีลักษณะ ดีนำมาเพาะเลี้ยงจนกระทั่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ตามภูมิภาคต่างๆของประเทศไทยเช่นเชียงใหม่ ลำปาง กำแพงเพชร ลพบุรีและกาญจนบุรีเป็นต้น ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็มีเทคนิคในการเพาะแตกต่างกันออกไป แต่โดยพื้นฐานวิธีการเพาะก็คล้ายๆกับเห็ดฟางนั่นเอง


เห็ดโคนน้อยที่เพาะกันทั่วไปที่มีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่แน่นอนแล้วจะไม่มีสารพิษ Coprine ซึ่งสารชนิดนี้สามารถพบในเห็ดจีนัส Coprinus หลายสปีชีส์ที่ใกล้เคียงกับเห็ดโคนน้อย เช่น C.atramentarius , C.disseminatus, C.fuscescens, C.insignis, C.micaceus, C.quadrifidus, C.variegatus, C.silvaticus เป็นต้น โดยสารนี้พบว่าจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า Coprinus syndrome (Bresinsky and Besel,1990) ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากสารพิษ coprine ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทอัตโนมัติ สารพิษนี้มีฤทธิ์เสริมกับเครื่องดื่มที่มีอัลกอฮอล์ ทำให้ออกฤทธิ์คล้ายกับการรับประทานยา antabuse ดัง นั้นเมื่อผู้บริโภครับประทานเห็ดในกลุ่มใกล้เคียงเหล่านี้ร่วมกับเครื่อง ดื่มที่มีอัลกอฮอล์ไม่ว่าก่อนหรือหลัง จะมีอาการเมาค้าง หายใจหอบ หน้าแดงเนื่องจากหลอดเลือดขยาย ใจสั่น ชีพจร เต้นเร็ว เจ็บหน้าอก ปวดศรีษะ มึนงง สับสนหรือประสาทหลอนและความดันโลหิตต่ำ อาการจะปรากฏอยู่ไม่นานและดีขึ้นภายใน 5 วัน การรักษาเนื่องจากพิษ โดยปกติจะหายได้เอง ยกเว้นถ้าอาการคงอยู่นาน ต้องทำให้อาเจียน ล้างกระเพาะลำไส้ ถ้าความดันต่ำมากต้องให้การรักษาทันที



List Free Weekly Horoscopes
Daily Horoscope For Libra
Free Chinese Love Horoscope
Today Aries Love Horoscope
Today Gemini Love Horoscope
Today'S Virgo Love Horoscope
Free Online Horoscope Matching
Sagittarius The Horoscope
Romance Horoscope For Libra
Free Romance Horoscope

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น